รู้อะไรก็ไม่สู้รู้เท่าทัน “ภาษี” เพราะการเริ่มต้นวางแผนภาษีอย่างถูกวิธีตั้งแต่ช่วงเดือนแรกของปี จะทำให้มีแต่ได้กับได้ แถมยังทำให้มีเงินเหลือและได้เงินคืนอีกด้วย ซึ่งในยุคปัจจุบันทางเราเชื่อว่าในประเทศไทยมีกลุ่มคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อยที่ได้รายได้หรือเงินเดือนถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี แต่กลับไม่รู้ว่าจะต้องวางแผนภาษีหรือยื่นภาษีอย่างไรดี ส่วนใหญ่แล้วมักจะรู้สึกกังวลใจเพราะคิดเลขไม่เก่ง แถมมีตัวเลขมากมายที่จะทำให้ยิ่งงุนงงและไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนดี สุดท้ายก็มักจะลงเอยด้วยการละเลยและไม่ทำอะไรเลยไปในที่สุด และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องยื่นภาษีทำให้ต้องมานั่งจ่ายภาษีแบบเต็มจำนวน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วนั้น “การวางแผนภาษี” หรือที่ทางกฎหมายมักจะเรียกว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นับได้ว่าไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแบบที่หลาย ๆ คนคิด ตลอดจนสามารถลงมือทำได้เลยทันที เพียงแค่ทุกท่านต้องรู้หลักในการวางแผนภาษีเท่านั้น โดยในบทความนี้ ทางเราได้ทำการสรุปหลักในการวางแผนภาษีออกมาทั้งหมด 4 ขั้นตอนด้วยกัน เพื่อเป็นตัวช่วยให้ทุกท่านสามารถวางแผนภาษีได้ด้วยตนเอง รับรองเลยว่านอกจากทุกท่านไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มแล้ว ยังมีโอกาสได้รับเงินภาษีที่เคยถูกหักจากเงินเดือนกลับคืนมาได้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันต่อได้เลยค่ะ
วางแผน ภาษี อย่างไร ให้ใจฟูตั้งแต่ต้นปี แถมมีเงินเหลือใช้และได้เงินคืน
ขั้นตอนที่ 1 : ควรรับรู้ทุกรายรับและรายได้ตลอดทั้งปี
ในทุก ๆ ครั้งที่คุณได้รับเงิน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนจากงานประจำหรือว่าเงินจากรายได้พิเศษอื่น ๆ ซึ่งนับได้ว่าเป็นค่าจ้างจากงานเสริมที่คุณได้ทำ คุณจำเป็นจะต้องรู้ยอดเงินทุกยอดอยู่เสมอ เพราะ “ยอดรวมของรายรับ” ที่คุณได้มาตลอดใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ วงการภาษีหรือภาษาของกฎหมายมักจะเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะบอกให้รู้ว่า คุณต้องเสีย ภาษีเพิ่มเติมหรือไม่
โดยกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้มีการกำหนดยอดรายรับเพื่อเป็นเกณฑ์ในการเสีย ภาษี เอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 : คนทำงานมีรายรับไม่ถึง 10000 บาท / เดือน ไม่ต้องยื่น ภาษี และไม่ต้องเสียภาษี
- กลุ่มที่ 2 : คนทำงานมีรายรับเกิน 10000 บาท แต่ไม่ถึง 25833.33 บาท / เดือน หรือมีรายรับตลอดปีไม่เกิน 310000 บาท ต้องยื่น แต่ไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากได้รับการยกเว้นนั่นเอง
- กลุ่มที่ 3 : คนทำงานที่ได้รายรับเกิน 25833.33 บาท / เดือน หรือมีรายรับตลอดปีเกิน 310000 บาท ต้องยื่นและต้องเสียภาษีเพิ่มเติม
ด้วยเหตุนี้ คนกลุ่ม 3 จำเป็นจะต้องวางแผน ภาษี ส่วนคนกลุ่มที่ 1 และ 2 หากมีรายได้จากเงินพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติม เมื่อนำมารวมกันกับเงินเดือนตลอดทั้งปีแล้วมียอดเกิน 150000 บาท ก็ต้องวางแผนเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีรายรับถึงเกณฑ์ที่จำเป็นจะต้องเสียภาษีนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 : ชี้ชัดถึงจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย
เมื่อคุณรู้แล้วว่าอยู่ในกลุ่มคนที่ต้องทำการยื่น ภาษี คำถามสุดฮิตต่อมา ก็คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเสียภาษี หรือไม่ และต้องเสียเท่าไหร่? สามารถตอบได้ด้วยสูตรคำนวณ ดังนี้
ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
และจากสูตรคำนวณนี้จะเห็นได้ว่ามีอยู่ 2 ยอดที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน นั่นก็คือ เงินได้สุทธิ และ อัตราภาษี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เงินได้สุทธิ สามารถหาได้จาก ยอดรายรับตลอดทั้งปีของปีนั้น ๆ มาหักกับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิ = รายรับตลอดทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
- อัตราภาษี ถูกแบ่งออกเป็น 8 ขั้นบันได เริ่มต้นที่ 5% และสูงสุดที่ 35% ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิ นั่นหมายความว่า ยิ่งถ้าหากท่านใดมีรายได้สุทธิมากก็จะต้องเสีย ภาษี เยอะตามไปด้วย
และสำหรับ “ค่าใช้จ่าย” ที่สามารถนำมาหักกับรายรับตลอดทั้งปี สามารถหักได้ 50% ของรายรับรวมทั้งหมด แต่จะต้องหักไม่เกิน 100000 บาทเท่านั้น และสำหรับในกรณีที่ต้องคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่มต่อ ทางเราขอยกตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณ ภาษี ที่จะต้องจ่ายเพิ่ม ในกรณีที่ไม่รวมค่าลดหย่อนใด ๆ ทั้งสิ้น
นางสาวอัญชลี เป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เงินเดือนที่ 30000 บาท รายรับรวมหรือรายได้พึงประเมินเท่ากับ 360000 บาท/ปี สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ที่ 50% แต่ทางกฎหมายอนุญาตให้หักได้สูงสุดแค่ 100000 บาทเท่านั้น ทำให้เงินได้สุทธิของนางสาวอัญชลี เท่ากับ 260000 บาท
และเมื่อนำเงินได้สุทธิไปคำนวณ ภาษี ที่ต้องจ่ายเพิ่มต่อ เงินได้สุทธิ 260000 บาท สามารถแบ่งคำนวณตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได 150000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้น แต่ส่วนที่เหลือ 110000 บาทของเงินได้สุทธิจัดอยู่ในอัตราภาษี 5% (รายได้สุทธิตั้งแต่ 150001 – 300000 บาท) ซึ่งสามารถเขียนสูตรคำนวณได้ดังนี้
ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
แบบขั้นบันได ขั้นที่ 1 : 0 = 150000 x 0%
แบบขั้นบันได ขั้นที่ 2 : 5500 = 110000 x 5%
กรณีนี้เท่ากับว่า นางสาวอัญชลีต้องเสียภาษีเพิ่ม 5500 บาท ซึ่งนับได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อย และนี่ก็คือเหตุผลที่ทุกคนควรวางแผนภาษีให้เป็นนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3 : ไม่ควรลืมเติมค่าลดหย่อนทุกรายการ
ถึงแม้ว่ารายรับของหลาย ๆ ท่านจะถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสีย ภาษี เพิ่ม แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การวางแผนที่ดีอย่างครอบคลุมด้วยการเพิ่ม “ค่าลดหย่อน” ในทุก ๆ รายการที่คุณมี จะช่วยผ่อนหนักให้กลายเป็นเบาลงได้ เพราะค่าลดหย่อนทุก ๆ รายการจะสามารถลดจำนวนภาษีที่คุณต้องจ่ายให้ลดลงไปได้ ด้วยเหตุนี้กลุ่มคนวัยทำงานจึงไม่ควรมองข้ามหรือลืมจุดนี้เป็นอันขาด โดยเริ่มต้นสำรวจว่าในปี ภาษี นั้น ๆ ทางกรมสรรพากรได้กำหนดให้มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้วางแผนการใช้จ่ายค่าลดหย่อนให้กับตนเองเพิ่มเติม และควรเช็กรายละเอียดในส่วนนี้ทุกปี เนื่องจากรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของทางรัฐโดยตรง และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ ทุกค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้นั้น คุณจะต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ เพื่อที่จะแสดงและยืนยันได้เสมอเมื่อกรมสรรพากรได้เรียกตรวจสอบ
แต่โดยปกติแล้วกลุ่มคนวัยทำงานที่มักจะได้รับเงินเดือนถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีนั้น มักจะถูกหัก “ภาษี ณ ที่จ่าย” เป็นประจำทุกเดือน ในจุดนี้เองจะช่วยทำให้กลุ่มคนวัยทำงานได้รับเงินคืนภาษี หากพบว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ก่อนหน้านี้กลับมีจำนวนเกินภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่ม ส่วนต่างที่จ่ายไว้ล่วงหน้าก็จะได้รับคืนกลับมานั่นเอง
ขั้นตอนที่ 4 : จบด้วยการยื่น ภาษี ให้ถูกที่ถูกเวลา
เมื่อมีการคำนวณเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาถึงขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือ การยื่น ภาษี กับทางกรมสรรพากร เพื่อที่จะเป็นหลักฐานว่าคุณได้ยื่นอย่างถูกต้องครบถ้วน สำหรับวิธีที่สะดวกและดูเหมือนง่ายที่สุด นั่นก็คือ การยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของทางกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ ซึ่งโดยปกติแล้วทุกคนสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีถัดไป ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ควรติดตามประกาศวันที่แน่ชัดจากทางกรมสรรพากรอีกครั้ง เนื่องจากอาจจะมีการขยายวันในการยื่นแบบถึงต้นเดือนเมษายนได้ร่วมด้วย
ไขกระจ่าง! บุคคลธรรมดาสร้างรายได้หลายทาง จ้างสำนักงานบัญชียื่นภาษีได้หรือไม่?
เนื่องจากในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่มีแนวคิดผ่านการทำงานและมีความต้องการที่จะหารายได้หลายทางด้วยกัน และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การมีรายได้หลายทางยังต้องนำมาเสียภาษี และสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ นั่นก็คือ รายได้แต่ละทางนั้นเป็นรายได้ประเภทไหนตามกฎหมาย ซึ่งส่งผลทำให้การยื่นเสียภาษีในนามบุคคลธรรมดานั้นกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะในการจัดการทางด้านบัญชีและภาษี ตลอดจนกระทั่งการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีความถูกต้อง
ซึ่งในส่วนนี้จึงทำให้หลาย ๆ ท่านเกิดความสงสัยว่า “บุคคลธรรมดาทั่วไปจะสามารถจ้างสำนักงาน รับทำบัญชี ยื่นภาษีได้หรือไม่?” คำตอบคือ บุคคลธรรมดาสามารถที่จะใช้บริการของสำนักงาน รับทำบัญชี เพื่อบรรเทาภาระทางด้านภาษีได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสำนักงานบัญชีสามารถให้บริการทั้งในรูปแบบของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และให้คำปรึกษา – แนะนำทางด้าน ภาษี ซึ่งจะช่วยลดภาระยุ่งยากในการจัดการในเรื่องของภาษี และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับให้แก่กรมสรรพากรได้อีกด้วย
สรุป
ทั้งหมดนี้นับได้ว่าเป็น 4 ขั้นตอนในการวางแผน ภาษี ให้ใจฟูตั้งแต่ต้นปี แถมมีเงินเหลือใช้และได้เงินคืน สำหรับท่านใดที่สามารถทำได้ครบในทุก ๆ ขั้นตอน จะสามารถมั่นใจได้เลยว่าการวางแผนในแต่ละครั้งจะช่วยทำให้คุณสามารถยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง และยังมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีได้เป็นอย่างมาก ตลอดจนกระทั่งสามารถนำเงินส่วนที่คุณประหยัดได้หรือได้เงินคืนนั้นไปสร้างความมั่งคั่งได้เพิ่มเติม เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง