Category Archives: สาระน่ารู้

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณจากฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคลซึ่งก็คือ “กำไร (ขาดทุน) สุทธิ” ในหลักเกณฑ์ของการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานมาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดผลแตกต่างที่เกิดขึ้นจะออกมาในรูปของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี กิจการจะต้องนำ “กำไรทางบัญชี” มาปรับปรุงให้เป็น “กำไรทางภาษีอากร” เพื่อนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้น โดยปกติมีดังนี้ 1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป[อ่านเพิ่มเติม]

ผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบางรายเข้าลักษณะที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้มีบทบัญญัติยกเว้นภาษีให้ คือ บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ การยกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศว่าจะยกเว้นให้แก่ใครบ้าง บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้มีการเก็บภาษีซ้อนแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศหนึ่ง แต่มีเงินได้หรือทรัพย์สินอยู่ในประเภทหนึ่ง ถ้ามิได้มีสัญญาดังกล่าว บุคคลนั้นอาจต้องเสียภาษีอากรให้แก่ประเทศทั้งสองโดยเต็มอัตรา อันป็นภาระหนักเกินไปจึงสมควรที่จะบรรเทาภาระภาษีให้เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสาธารณกุศล การยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ยกเว้นเงินได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนดังนี้ ก.[อ่านเพิ่มเติม]

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ

หลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำรายได้มาหักออกจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณหากำไรหรือขาดทุนสุทธิของกิจการในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในส่วนของรายได้ที่เกิดจากกิจการจะต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิ แต่ในประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้มีรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีไว้ซึ่งผู้วางแผนภาษีจะต้องระมัดระวังในการนำรายได้ดังกล่าวไปประกอบการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องนำไปพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษี เช่น 1. รายได้เงินปันผล เฉพาะบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่เงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้ บริษัทจำกัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย[อ่านเพิ่มเติม]

วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมีดังนี้ 1. การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง โดยทั่วไปผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องคำนวณภาษีและยื่นแบบแสดงรายการตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของนิติบุคคลและวิธีการคำนวณเสียภาษี 2. การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในบางกรณีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งรัฐบาลโดยภาษีที่หักไว้นั้นให้ถือเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามปกติ 3. การเสียภาษีโดยการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล[อ่านเพิ่มเติม]

ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้นเงินที่ได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกันดังนี้ กำไรสุทธิ ยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยทั่วไปแล้วฐานภาษีจะคำนวณจากกำไรสุทธิ ซึ่งเกิดจากการนำรายได้หักออกจากค่าใช้จ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีสิ่งที่ควรจะคำนึงถึงก็คือการเลือกรายได้และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น การให้เงินกู้แก่กรรมการโดยไม่คิดดอกเบี้ยซึ่งอาจจะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล การจ่ายค่าใช้จ่ายควรจะมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ[อ่านเพิ่มเติม]